ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเกอร์...ผญาอีสานพาเพลินเจริญอุรา จัดทำโดย นางสาวประกายดาว ล้วนชา นิสิตสาขาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผญาคำสอน



ผญาคำสอน

คำปากพ่อแม่นี้     หนักเกิ่งธรณี
ไผผู้นำแยงนบ     หากจักเฮืองเมื่อหน้า
ยำ หมายถึง เคารพนับถือ เรียก ยำ ยำเยง ยำแยง ยำเกรง
เกิ่ง หมายถึง เท่า เสมอ เหมือน
หมายความว่า คำปาก คำสอนของพ่อแม่นั้น หนักเท่าแผ่นธรณี ผู้ใดยำเกรง ยึดถือปฎิบัติ จักเจริญรุ่งเรืองในภายภาคหน้าสืบไป

บวยบ่มีด้าม     ซิเอาหยังมาค้างแอ่ง
เขาซิเอิ้นกะโป๋หมากพร้าว     บ่มีเอิ้นว่าบวย
บวย หมายถึง ขันตักน้ำ ในสมัยก่อนส่วนมากจะทำด้วยกะลามะพร้าว
แอ่ง หมายถึง โอ่ง
กะโป๋ หมายถึง กะลามะพร้าว
หมายความว่า บวยถ้าไม่มีด้าม จะค้างโอ่งไม่ได้ เมื่อค้างโอ่งไม่ได้เขาก็จะไม่เรียกว่าบวย แต่จะเรียกว่า กะลามะพร้าว เปรียบได้กับสรรพสิ่งทั้งหลายที่ไม่ครบองค์ประกอบ เช่น เป็นทหารแต่ไม่มีชุดใส่หรือไม่มีอาวุธ เป็นพระแต่ไม่มีศีลมีธรรมะ เป็นต้น


มีเงินล้น     เต็มถง อย่าฟ้าวอ่ง
ยามเมื่อทุกขะมอดไฮ้     เมื่อหน้าส่องบ่เห็น
ถง หมายถึง ถุง
อย่าฟ้าว หมายถึง อย่ารีบร้อน อย่าเร่งรีบ
อ่ง หมายถึง ทำตัวหยิ่งยโส ทำตัวใหญ่โตเย่อหยิ่ง
หมายความว่า มีเงินล้นเต็มถุง อย่าเพิ่งรีบทำตัวหยิ่งยโส ในอนาคตอาจจะทุกข์ยากไร้ก็ได้ ไม่มีใครที่จะทายหรือมองเห็นได้ เพื่อเตือนเป็นคติสอนใจว่า เมื่อเวลามั่งมีอย่าทำตัวใหญ่โตเย่อหยิ่ง ในเวลาต่อไปอาจจะตกทุกข์ได้ยากก็เป็นได้

เงินเต็มพา     บ่ท่อผญาเต็มปูม
พา หมายถึง สำรับกับข้าว
ผญา หมายถึง ปัญญา ปรัชญา ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ความสามารถ
ปูม หมายถึง พุงหรือท้อง (หมายถึง สมอง ก็ได้)
หมายความว่า เงินเต็มสำรับกับข้าว ไม่เท่าปัญญาเต็มพุง มีความหมายว่า ความมั่งมีร่ำรวยเท่าไหร่ก็ไม่เท่ามีความรู้ สติปัญญามาก (มีปัญญาเป็นทรัพย์เลิศกว่าสิ่งอื่นใด)



ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสืออธิบายผญา ๑ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข ๒๕๔๕) บอกลูกหลานเล่ม ๑๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น